สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน

พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ และเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็นกรรมการ เลขานุการคณะกรรมการดังกล่าว มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเสนอนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงาน การติดตามดูแล ประสานและเร่งรัดการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ ที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับพลังงาน รวมทั้งการประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ

พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัติได้กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติขึ้น เพื่อเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบในเรื่องเกี่ยวกับนโยบายอนุรักษ์พลังงาน เป้าหมาย และแผนอนุรักษ์พลังงาน การตรวจสอบและวิเคราะห์การอนุรักษ์พลังงาน และวิธีปฎิบัติในการอนุรักษ์พลังงาน นอกจากนี้ พระราชบัญญัตินี้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับระดับการใช้พลังงานในเครื่องจักรและอุปกรณ์ในสถานที่ต่างๆ เช่น อาคาร โรงงาน เป็นต้น การให้เจ้าของโรงงานควบคุมตามพระราชกฤษฎีกาต้องอนุรักษ์พลังงาน ตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานของตนให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การส่งข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตการใช้และการอนุรักษ์พลังงาน และการ จดบันทึกข้อมูลการใช้พลังงาน ในการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว พระราชบัญญัติได้กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในกระทรวงการคลัง เพื่อให้เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายช่วยเหลือ หรืออุดหนุน การดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงานการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานการกำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมการผลิตเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงหรือวัสดุ เพื่อใช้ในการอนุรักษ์พลังงานโดยให้เจ้าของโรงงานควบคุมจัดส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกำหนด ซึ่งการไม่ส่งเงินเข้ากองทุนหรือส่งเงินไม่ครบจะมีโทษทั้งจำและปรับ

พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516

พระราชกำหนดนี้ได้ตราขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทวีสูงขึ้นเป็นลำดับและน้ำมันดิบที่จะหาซื้อได้มีปริมาณลดลง ทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นในประเทศไทย จึงจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขและป้องกันภาวะการณ์ดังกล่าวให้ทันต่อเหตุการณ์ โดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งเพื่อกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่าย การสำรองและการส่งออกนอกราชอาณาจักรและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด การผลิตหรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น การใช้น้ำมัน เชื้อเพลิงพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงาน และการปันส่วนน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัติปันส่วนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2483

รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอิสระ พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้ใช้พลังงานไฟฟ้าตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาและประเทศใกล้เคียง รวมทั้งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ พลังงานไฟฟ้า ผลิตและขายลิกไนท์หรือวัตถุเคมีจากลิกไนท์ หรือร่วมทุนกับบุคคลอื่นเพื่อดำเนินธุรกิจดังกล่าว ในการปฎิบัติการดังกล่าว กฟผ. มีอำนาจใช้สอยและครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น เพื่อสำรวจหาแหล่งพลังงานและจัดหาสถานที่สำหรับใช้ในการผลิตหรือพัฒนาพลังงานไฟฟ้า ซึ่งในการนี้ กฟผ.จะต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรม และในกรณีที่มีข้อโต้แย้งหรือตกลงกันไม่ได้ กฟผ. สามารถนำเงินค่าทดแทนไปวางไว้ต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์ได้นอกจากนี้พระราชบัญญัติยังกำหนดให้ กฟผ. มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขที่เกี่ยวกับคุณภาพไฟฟ้า และเทคนิคทางวิศวกรรม และความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า ในกรณีที่เอกชนประสงค์จะเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าของ กฟผ. การไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501

พระราชบัญญัตินี้ให้อำนาจการไฟฟ้านครหลวงในการจัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า และการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง หรือที่เป็นประโยชน์แก่การไฟฟ้านครหลวงภายในเขตกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียง โดยในการดำเนินกิจการดังกล่าว พนักงานการไฟฟ้านครหลวงมีอำนาจที่จะใช้สอยหรือเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในความครอบครองของบุคคลใดๆ เพื่อประโยชน์ในการสร้างและบำรุงรักษาซึ่งระบบการส่งพลังงานไฟฟ้า การป้องกันอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดแก่ระบบการส่งพลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดอำนาจหน้าที่และคุณสมบัติของคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงและผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง รายละเอียดขั้นตอนการปฎิบัติหน้าที่ และบทกำหนดโทษของพนักงานการไฟฟ้านครหลวงหรือบุคคลใด โดยคำนึงถึงประโยชน์แห่งความปลอดภัยและเป็นธรรมต่อรัฐและประชาชน รวมทั้งการกำหนดกิจการใดของการไฟฟ้านครหลวงที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินการได้ เช่น การเพิ่มหรือลดทุน การกู้ยืมเงิน เป็นต้น พระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 พระราชบัญญัตินี้ได้ตราขึ้นเพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในการผลิต จัดให้ได้มา จัดส่งและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า และการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง หรือที่เป็นประโยชน์แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในเขตส่วนภูมิภาค ซึ่งอยู่นอกเขตท้องที่ที่การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการโดยในการดำเนินกิจการดังกล่าว พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีอำนาจที่จะใช้สอยหรือเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในความครอบครองของบุคคลใดๆ เพื่อประโยชน์ในการสร้างและบำรุงรักษาซึ่งระบบการส่งพลังงานไฟฟ้า การป้องกันอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดแก่ระบบการส่งพลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดอำนาจหน้าที่และคุณสมบัติของคณะกรรมการการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคและผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ และบท กำหนดโทษของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือบุคคลใด โดยคำนึงถึงประโยชน์แห่งความปลอดภัยและเป็นธรรมต่อรัฐและประชาชน รวมทั้งการกำหนดกิจการใดของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินการได้ เช่น การเพิ่มหรือลดทุน การกู้ยืมเงิน เป็นต้น พระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544 พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ได้ตราขึ้นเนื่องจากได้มีการจัดตั้งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยเปลี่ยนทุนของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นหุ้นตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ และให้โอนกิจการของการ ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยทั้งหมดไปให้แก่บริษัทดังกล่าว พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ยกเลิกพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดดังต่อไปนี้ ตั้งแต่วันที่ พ. ศ. 2544 เป็นต้นไป

พระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ. ศ. 2521

พระราชกำหนดการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ. ศ. 2523  พระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ( ฉบับที่ 2) พ. ศ. 2537 พระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ได้ตราขึ้นเนื่องจากได้มีการจัดตั้ง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยเปลี่ยนทุนของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นหุ้นตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ และให้โอนกิจการของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยทั้งหมดไปให้แก่บริษัทดังกล่าว และโดยคำนึงถึงความเป็นธรรม ในการแข่งขันทางธุรกิจและการรักษาประโยชน์ของรัฐประกอบด้วยแล้ว ในการดำเนินงานของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ระยะแรก จำเป็นต้องได้รับอำนาจ สิทธิ และประโยชน์บางกรณี เช่นเดียวกับที่การ ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และตามกฎหมายอื่น ภายใต้พระราชกฤษฎีกา ในการประกอบธุรกิจปิโตรเลียมของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทจะมีอำนาจได้รับยกเว้น มีสิทธิพิเศษหรือได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยหรือกฎหมายอื่นได้บัญญัติไว้ให้แก่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เว้นแต่กรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5 และ 6 ของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546

การเพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศไม่ให้สูงเกินกว่าที่คณะรัฐมนตรีกำหนด พร้อมทั้งดำเนินการต่างๆ ตามนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกองทุนพลังงาน ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) มีอำนาจในการดำเนินการใดๆ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือคณะกรรมการสถาบันบริหารกองทุนพลังงานกำหนด ดำเนินการและประสานงานกับส่วนราชการและองค์การต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือมอบหมายให้หน่วยงานอื่นดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง พระราชกฤษฎีกากำหนดให้คณะกรรมการสถาบันบริหารกองทุนพลังงานรับผิดชอบในการบริหารและดำเนินกิจการของสถาบัน โดยคณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารสถาบันกำกับดูแลการดำเนินการของสถาบันให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานกำหนด อนุมัติแผนงานและงบประมาณของสถาบัน และออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศในเรื่องการบริหารงานทั่วไปของสถาบัน ภายใต้พระราชกฤษฎีกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการดำเนินการของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง นโยบายของรัฐบาล มติคณะรัฐมนตรี มติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน กฎหมายด้านพลังงาน

ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 28 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58

ประกาศกรมโยธาธิการ เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ และลักษณะโค้งของทางที่จะอนุญาตให้ตั้งสถานีบริการ ประกาศกรมโยธาธิการ เรื่องกำหนดให้ส่วนราชการเป็นผู้ตรวจสอบและออกหนังสือรับรองการปฏิบัติตามข้อ 92 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2529) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 28 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2514 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2529 ประกาศกรมโยธาธิการ เรื่องคุณสมบัติและคุณวุฒิของผู้ทดสอบและตรวจสอบถังก๊าซหุงต้ม ถังเก็บและจ่ายก๊าซ ถังขนส่งก๊าซ ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ และการออกใบรับรองให้เป็นผู้ทดสอบและตรวจสอบ ประกาศกรมโยธาธิการ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีติดตั้งถึงขนส่งก๊าซ ลักษณะและส่วนประกอบภายในถังขนส่งก๊าซ (ฉบับที่ 5)